- คำขอบวช
- คำอาราธนา และสมาทานศีล ๘
- องค์ของศีล ๘ (องค์สำหรับตัดสินศีล ๘)
- กรรมบถ ๑๐
- มารยาท ๕ (ในอิริยาบถ ๔)
- เมถุนสังโยค ๗
- สารานิยธรรม ๖
- อุปกิเลส ๑๖
- อปัณณกปฏิปทา-ธรรมที่บรรพชิตควรพิจารณาเนืองๆ ๑๐ อย่าง
คำขอบวช
เอสาหํ ภนฺเต สุจิรปรินิพฺพุตมฺปิ ตํ ภควนฺตํ สรณํ คจฺฉามิ ธมฺมญฺจ สงฺฆญฺจ ปพฺพชฺชํ มํ ภนฺเต สงฺโฆ ธาเรตุ อชฺชตคฺเค ปาณุเปตํ สรณํ คตํ.ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ข้าพเจ้าขอถึงสมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้า แม้เสด็จดับขันธ์ ปรินิพพานนานแล้ว กับทั้งพระธรรมและพระสงฆ์ว่าเป็นสรณะที่พึ่งที่ระลึก ขอพระสงฆ์จงจำข้าพเจ้าไว้ว่าเป็นผู้บวชในพระธรรมวินัย ผู้ถึงพระรัตนตรัยเป็นสรณะตลอดชีวิต ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
คำอาราธนาศีล ๘
มยํ ภนฺเต ติสรเณน สห อฏฺฐ สีลานิ ยาจาม.(ถ้าคนเดียวว่า อหํ ภนฺเต ติสรเณน สห อฏฺฐ สีลานิ ยาจามิ.)
ว่าสามครั้ง
นมการคาถา
นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทฺธสฺส(ว่า ๓ ครั้ง)
ไตรสรณาคมน์
พุทฺธํ | สรณํ | คจฺฉามิ | |
ธมฺมํ | สรณํ | คจฺฉามิ | |
สงฺฆํ | สรณํ | คจฺฉามิ | |
ทุติยมฺปิ | พุทฺธํ | สรณํ | คจฺฉามิ |
ทุติยมฺปิ | ธมฺมํ | สรณํ | คจฺฉามิ |
ทุติยมฺปิ | สงฺฆํ | สรณํ | คจฺฉามิ |
ตติยมฺปิ | พุทฺธํ | สรณํ | คจฺฉามิ |
ตติยมฺปิ | ธมฺมํ | สรณํ | คจฺฉามิ |
ตติยมฺปิ | สงฺฆํ | สรณํ | คจฺฉามิ |
(พระท่านว่า) ติสรณคมนํ นิฏฺฐิตํ
(รับว่า) อาม ภนฺเต
คำสมาทานศีล ๘
- ปาณาติปาตา เวรมณีสิกฺขาปทํ สมาทิยามิ ข้าพเจ้าสมาทานซึ่งสิกขาบท คือเว้นจากฆ่าสัตว์ด้วยตนเอง และไม่ใช้ให้ผู้อื่นฆ่า
- อทินฺนาทานา เวรมณี สิกฺขาปทํ สมาทิยามิ ข้าพเจ้าสมาทานซึ่งสิกขาบท คือ เว้นจากลัก, ฉ้อ ของผู้อื่นด้วยตนเอง และไม่ใช้ให้ผู้อื่นลัก, ฉ้อ
- อพฺรหฺมจริยา เวรมณีสิกฺขาปทํ สมาทิยามิ ข้าพเจ้าสมาทานซึ่งสิกขาบท คือเว้นจากอสัทธรรม กรรมอันเป็นข้าศึกแก่พรหมจรรย์
- มุสาวาทา เวรมณีสิกฺขาปทํ สมาทิยามิ ข้าพเจ้าสมาทานซึ่งสิกขาบท คือ เว้นจากพูดเท็จ คำไม่เป็นจริงและคำล่อลวงอำพลางผู้อื่น
- สุราเมรยมชฺชปมาทฏฺฐานา เวรมณีสิกฺขาปทํ สมาทิยามิ ข้าพเจ้าสมาทานซึ่งสิกขาบท คือ เว้นจากการดื่มกินสุราและเมรัย เครื่องดองของทำใจให้คลั่งไคล้ต่างๆ
- วิกาลโภชนา เวรมณีสิกฺขาปทํ สมาทิยามิ ข้าพเจ้าสมาทานซึ่งสิกขาบท คือ เว้นจากบริโภคอาหารในเวลาวิกาล
- นจฺจคีตวาทิตวิสูกทสฺสนมาลาคนฺธวิเลปนธารณมณฺฑนวิภูสนฏฺฐานา เวรมณีสิกฺขาปทํ สมาทิยามิ ข้าพเจ้าสมาทานซึ่งสิกขาบท คือ เว้นจากดูฟังฟ้อนรำขับร้องและประโคมเครื่องดนตรีต่างๆ และดูการเล่นที่เป็นข้าศึกแก่กุศลและทัดทรงตบแต่งร่างกายด้วยเครื่องประดับและดอกไม้ของหอมเครื่องทา เครื่องย้อมผัดผิวให้งามต่างๆ
- อุจฺจาสยนมหาสยนา เวรมณีสิกฺขาปทํ สมาทิยามิ ข้าพเจ้าสมาทานซึ่งสิกขาบท คือเว้นจากนั่ง นอนเหนือเตียงตั่ง มีเท้าสูงเกินประมาณ และที่นั่ง ที่นอนอันสูงใหญ่ภายในใส่นุ่นและสำลี อาสนะอันวิจิตรไปด้วยลวดลายงามด้วยเงินทองต่างๆ
อิมานิ อฏฺฐสิกฺขาปทานิ สมาทิยามิ (ว่า ๓ ครั้ง)
องค์ของศีล ๘
(องค์สำหรับตัดสินศีล ๘)ปาณาติบาต มีองค์ ๕ ประการคือ
ปาโณ สัตว์มีชีวิตหนึ่ง
ปาณสญฺญิตา ตนรู้อยู่ว่าสัตว์มีชีวิตหนึ่ง
วธกจิตฺตํ จิตคิดจะฆ่าหนึ่ง
อุปกฺกโม ทำความเพียรเพื่อจะฆ่าหนึ่ง
เตน มรณํ สัตว์ตายด้วยความเพียรนั้นหนึ่ง
อทินนาทาน มีองค์ ๕ ประการคือ
ปรปริคฺคหิตํ พัสดุนั้นเป็นของผู้อื่นหวงแหนหนึ่ง
ปรปริคฺคหิตสญฺญิตา ตนรู้อยู่ว่าพัสดุนั้นเป็นของผู้อื่นหวงแหนหนึ่ง
เถยฺยจิตฺตํ จิตคิดจะลักหนึ่ง
อุปกฺกโม ทำความเพียรเพื่อจะลักหนึ่ง
เตน หรณํ นำสิ่งของมาด้วยความเพียรนั้นหนึ่ง
อพฺรหมจริยา มีองค์ ๔ ประการคือ
ติณฺณมคฺคานํ อญฺญตรโต วัตถุอันตนประพฤติผิดในมรรคทั้งสามมรรคใดมรรคหนึ่งเป็นต้นหนึ่ง
ตสฺมึ เสวนจิตฺตํ จิตคิดจะเสพในมรรคทั้งสามนั้นหนึ่ง
ตชฺโช วายาโม ทำความเพียรเพื่อจะเสพหนึ่ง
มคฺเคน มคฺคปฏิปตฺติ เสพทำมรรคต่อมรรคให้ถึงกันนั้นหนึ่ง
มุสาวาท มีองค์ ๔ ประการคือ
อตถํ วตฺถุ วัตถุที่กล่าวนั้นไม่จริงหนึ่ง
วิสงฺวาทน จิตฺตํ จิตคิดจะกล่าวให้คลาดหนึ่ง
ตชฺโช วายาโม เพียรกล่าวปลดออกไปหนึ่ง
ปรสฺส ตทตฺถวิชานนํ ความที่ผู้อื่นรู้แจ้งเนื้อความนั้นหนึ่ง
สุราเมรยมชฺชปมาทฏฺฐานา มีองค์ ๔ ประการคือ
มชฺชภาโว ความเป็นน้ำเมามีสุราเป็นต้นหนึ่ง
ปาตุกมฺมยตาจิตฺตํ จิตคิดจะดื่มกินซึ่งน้ำเมานั้นหนึ่ง
ตชฺโช วายาโม พยายามเพื่อจะดื่มกินซึ่งน้ำเมานั้นหนึ่ง
ตสฺส ปานํ ดื่มให้ไหลล่วงลำคอเข้าไปหนึ่ง
วิกาลโภชน์ มีองค์ ๔ ประการคือ
วิกาลกตา ตะวันล่วง(เลย)เที่ยงไปแล้วหนึ่ง
ยาวกาลิกตา อาหารและลูกไม้เป็นของเคี้ยว และของกัด (ประเภทอาหาร) หนึ่ง
อชฺโช หรณปโยโค ประโยคเพื่อจะกลืนกินหนึ่ง
เตน อชฺฌาหรณํ กลืนให้ไหลล่วงลำคอเข้าไปหนึ่ง
นัจจคีตฯ มีองค์ ๓ ประการคือ
นจฺจคีตวาทิตา การเล่นมีการฟ้อนรำขับร้องเป็นต้นหนึ่ง
ทสฺสนตฺถายคมนา เพียรไปเพื่อจะดูจะฟังหนึ่ง
ทสฺสนํ วา สวนํ วา ได้เห็นหรือได้ยินหนึ่ง
มาลาฯ มีองค์ ๓ ประการคือ
มาลาทีนํ อญฺญตรตา ดอกไม้ของหอมเครื่องทาเครื่องย้อมและเครื่องประดับต่างๆหนึ่ง
อนุญฺญาตการณาภาโว ไม่มีเหตุเจ็บไข้ที่พระพุทธเจ้าทรง อนุญาตหนึ่ง
อลงฺกตภาโว ทัดทรงตบแต่งด้วยจิตคิดจะให้งามหนึ่ง
อุจจาสยนฯ มีองค์ ๓ ประการคือ
อุจฺจาสยนมหาสยนา อาสนะที่นั่งที่นอนสูงใหญ่เกินประมาณ ภายในใส่นุ่นสำลีและวิจิตรงามต่างๆ หนึ่ง
ปริโภคจิตฺตํ จิตคิดจะบริโภคนั่งนอนหนึ่ง
ปริโภคกรณํ ทำความบริโภคนั่งนอนลงหนึ่ง
อกุศลกรรมบถ ๑๐
กายกรรม ๓ วจีกรรม ๔ มโนกรรม ๓ รวมเป็น ๑๐กายกรรม ๓ คือ
ปาณาติบาต ฆ่าสัตว์มีชีวิตให้ตกล่วงไปหนึ่ง
อทินนาทาน ถือเอาพัสดุสิ่งของที่เจ้าของเขาไม่ให้หนึ่ง
กาเมสุมิจฉาจาร ความประพฤติผิดในกามทั้งหลายหนึ่ง
วจีกรรม ๔ คือ
มุสาวาท กล่าวคำเท็จอำพลางผู้อื่นหนึ่ง
ปิสุณาวาจา กล่าวคำส่อเสียดให้เขาแตกร้าวกันหนึ่ง
ผรุสวาจา กล่าวคำหยาบหนึ่ง
สัมผัปปลาปะ กล่าวคำพร่ำเพ้อเจ้อ โปรยเสียซึ่งประโยชน์หนึ่ง
มโนกรรม ๓ คือ
อภิชฌา คิดเพ่งเฉพาะในพัสดุของผู้อื่นหนึ่ง
พยาปาทะ โทสะวิกาล คิดแช่งสัตว์ให้พินาศหนึ่ง
มิจฉาทิฏฐิ ความเห็นผิดจากสภาพที่จริงแท้หนึ่ง
เป็นอกุศลกรรมบถ ๑๐ ควรละเสีย ส่วนที่ตรงกันข้ามทั้ง ๑๐ เป็นกุศล ควรเจริญให้มีขึ้นทั้ง ๑๐ อย่าง
มารยาท ๕ (ในอิริยาบถ ๔)
- ว่าด้วยการยืน เราจะไม่ยืนหน้าหรือที่สูงกว่าผู้ที่บวชมาก่อนตน เว้นไว้แต่มีเหตุจำเป็นก็สมควรยืนมีสติ สำรวมกายให้เรียบร้อย
- ว่าด้วยการเดิน เราจักไม่เดินหน้าผู้ที่บวชก่อน ไม่เดินเป็นหมู่กัน ไม่จำเป็นแล้วไม่เดินเหลียวแลซ้ายขวา หรือเดินพลางพูดพลาง ถ้าจะไปแรมคืนต้องลาท่านผู้เป็นหัวหน้าหรือผู้ใหญ่เสียก่อน ถ้าขัดข้องหรือไม่มีโอกาส ต้องบอกเพื่อนพรหมจรรย์ให้ทราบ และหากไปไม่แรมคืนก็ควรบอกเพื่อนพรหมจรรย์ให้ทราบไว้ด้วย ไม่จำเป็นแล้วไม่เดินทางผู้เดียวต้องมีเพื่อนพรหมจรรย์หรือสตรีอื่นที่รู้ความไปด้วยเดินมีสติ สำรวมกายให้เรียบร้อย
- ว่าด้วยการนั่ง ไม่นั่งหน้าผู้ที่บวชมาก่อนตนเมื่อตนนั่งอยู่ถ้ามีผู้บวชก่อนมา ก็ต้องถอยที่ให้นั่ง ทั้งไม่นั่งกั้นทางเดินไปมานั่งให้เป็นหมวดเป็นหมู่กัน นั่งมีสติสำรวมกายให้เรียบร้อย
- ว่าด้วยการนอน ไม่นอนเกะกะ ถ้าหลายรูปก็ให้นอนเป็นแถวกัน ไม่กลับศีรษะกัน ไม่จำเป็นแล้วไม่นอนมุ้งเดียวเสื่อผืนเดียวและผ้าห่มผืนเดียวกัน ถ้าจำเป็นแล้วนอนได้เพียง ๓ คืนเป็นอย่างมาก นอนโดยจำเป็นต้องระวังอย่าให้ถูกตัวกัน เมื่อจะนอนปิดประตูเสียก่อนจึงนอน กลางคืนต้องใส่กลอน ทั้งต้องนอนสำรวมกายให้เรียบร้อย
- ว่าด้วยการพูด ไม่ชิงผู้ใหญ่ที่บวชก่อนตนพูด ไม่พูดจากลบเกลื่อนผู้ที่บวชก่อนตักเตือนตนหรือผู้อื่นอยู่ ไม่พูดจาข่มขี่ดุดัน ไม่ชิงพูดประสานเสียงกัน ควรพูดคำที่อ่อนหวานควรฟังคือถ้อยคำที่เป็นประโยชน์สอง (ประโยชน์ตนประโยชน์ท่าน) ไม่พูดกับบุรุษเกินกว่า ๖ คำ โดยไม่มีเพื่อนพรหมจรรย์หรือสตรีอื่นที่รู้ความได้ยินด้วย ไม่รับสิ่งของกับมือบุรุษโดยตรงและไม่ถูกต้องกระทบกายบุรุษ (บุรุษทุกวัยทุกเพศ แม้เป็นญาติ)
ผู้ใหญ่ในที่นี้ ประสงค์ผู้ที่บวชมาก่อนตน ถ้าผู้บวชที่หลัง แต่มีความรู้และความสามารถในธรรม ได้รับความยกย่องจากท่านที่เป็นหัวหน้าและที่ประชุมแล้ว ก็นับว่าเป็นผู้ใหญ่กว่า ต้องยกย่องความรู้ความสามารถเป็นผู้ใหญ่
สังโยค ๗
อนึ่ง ผู้ประพฤติในเมถุนวิรัติ ไม่เสพเมถุน เป็นผู้ประพฤติพรหมจรรย์ ให้พึงรู้ว่า พรหมจรรย์จะเศร้าหมองด้วยเมถุนสังโยค ๗ คือ- จิตกำหนัดยินดีในเมถุนแล้ว ใช้สตรี บุรุษ ให้ปฏิบัตินวดเฟ้นและพัดวี
- จิตกำหนัดยินดีในเมถุนแล้ว ยิ้มแย้มหัวเราะล้อเลียนกับด้วยสตรีบุรุษ
- เพ่งตาต่อตาของสตรี บุรุษ ด้วยจิตกำหนัดในเมถุนธรรม
- ได้ยินเสียงสตรี บุรุษขับร้อง เจรจา เกิดความกำหนัดยินดีด้วยเมถุนราคะ
- ได้เห็นหรือได้ยิน สตรีกับบุรุษบำเรอกันด้วยกามคุณ ด้วยอาการต่างๆ ก็เกิดกามราคะกำหนัดในเมถุน
- ตน แต่ก่อนได้พูดจาแทะโลม สัมผัสกันด้วยสตรี ด้วยบุรุษ และคิดถึงเรื่องความแต่ก่อนนั้น ก็เกิดกามราคะกำหนัดยินดีในเมถุนธรรม
- ตน ได้ทำบุญกุศลอันใดอันหนึ่งไว้ ปรารถนาจะเกิดเป็นเทวดาเสวยสมบัติ คือ กามคุณอันเป็นทิพย์ ผู้หวังความสุขความเจริญแก่ตน ควรปฏิบัติให้ไกลจากเมถุนสังโยค ๗ นี้
สาราณิยธรรม ๖ อย่าง
ธรรมเป็นที่ตั้งแห่งความระลึกถึง เรียกว่าสาราณิยธรรม ๖ อย่าง- เข้าไปกายกรรม ประกอบด้วยเมตตาในเพื่อนพรหมจรรย์ทั้งต่อหน้าและลับหลัง คือช่วยขวนขวายในกิจธุระของเพื่อนด้วยกาย มีพยาบาลเพื่อนพรหมจรรย์ที่เป็นไข้เป็นต้น ด้วยจิตเมตตา
- เข้าไปตั้งวจีกรรม ประกอบด้วยเมตตาในเพื่อนพรหมจรรย์ทั้งต่อหน้าและลับหลัง ด้วยวาจา เช่น กล่าวคำสั่งสอนเป็นต้น ด้วยจิตเมตตา
- เข้าไปตั้งมโนกรรม ประกอบด้วยเมตตาในเพื่อนพรหมจรรย์ทั้งต่อหน้าและลับหลัง คือคิดแต่สิ่งที่เป็นประโยชน์แก่เพื่อนกัน
- แบ่งปันลาภที่ตนได้มาแล้วโดยชอบธรรมให้แก่เพื่อนกัน ไม่หวงไว้บริโภคแต่ผู้เดียว
- รักษาศีลบริสุทธิ์เสมอกันกับเพื่อนพรหมจรรย์อื่นๆ ไม่ทำตนให้เป็นที่รังเกียจของผู้อื่น
- มีความเห็นร่วมกันกับเพื่อนพรหมจรรย์อื่นๆ ไม่วิวาทกับใครๆ เพราะมีความเห็นผิดกัน
อุปกิเลส ๑๖
(เครื่องทำใจให้เศร้าหมอง)- อภิชฺฌาวิสมโลโภ ความโลภเพ่งเล็งอยากได้ของเขา
- โทโส ความประทุษร้ายเขา
- โกโธ ความโกรธเคืองเขา
- อุปนาโห ความผูกเวรหมายมั่นกัน
- มกฺโข ความลบหลู่ดูถูกเขา
- ปลาโส ความยกตัวขึ้นเทียมเขา
- อิสฺสา ความริษยาเขา
- มจฺฉริยํ ความตระหนี่เหนียวแน่นเกียจกันหวงเข้าของ และวิชาความรู้ที่อยู่ที่อาศัย
- มายา ความเป็นคนเจ้าเล่ห์เจ้ากล
- สาเถยฺยํ ความโอ้อวดตัวให้ยิ่งกว่าคุณที่มีอยู่
- ถมฺโภ ความแข็งกระด้างดื้อดึงเมื่อเขาว่ากล่าวโดยธรรมโดยชอบ
- สารมฺโภ ความปรารภไม่ยอมตาม ซักเหตุผลมาอ้างทุ่มเถียงต่างๆ เมื่อขณะเขาว่า กล่าวโดยธรรมโดยชอบ
- มาโน ความเย่อหยิ่งถือเราถือเขาถือตัวถือตน
- อติมาโน ความดูถูกล่วงเกินผู้อื่น
- มโท ความเมาหลงในร่างกายที่ทรุดโทรมด้วยความชรามีอยู่ทุกวันๆ มาสำคัญว่ายังหนุ่มสาวอยู่ ประมาทไป และเมาหลงในร่างกายที่ป่วยไข้อยู่เป็นนิจต้องกินยา คือ ข้าวน้ำทุกเช้าค่ำ มาสำคัญว่าไม่มีโรคเป็นสุขสบาย ประมาทไป และเมาหลงชีวิตเป็นของไม่เที่ยงพลันดับไป ดังประทีปจุดไว้ในที่แจ้งฉะนั้น มาสำคัญว่ายังไม่ตาย ประมาทไป
- ปมาโท ความเมามัวทั่วไป อารมณ์อันใดที่น่ารักก็ไปหลงรักในอารมณ์เหล่านั้น อารมณ์อันใดที่น่าชังก็ไปหลงชิงชังโกรธต่ออารมณ์เหล่านั้น บรรจบเป็นอุปกิเลสเครื่องเศร้าหมองใจ ๑๖ ข้อ จิตเศร้าหมองด้วยอุปกิเลสข้อใดข้อหนึ่งดังว่ามานี้แล้ว จิตนั้นล้วนเป็นบาปอกุศลหมดทั้งสิ้น
อปัณณกปฏิปทา
คือข้อปฏิบัติไม่ผิด ๓ อย่าง- อินทรีย์สังวร สำรวมอินทรีย์ ๖ คือตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ไม่ให้ยินดียินร้ายในเวลาเห็นรูป ฟังเสียง ดมกลิ่น ลิ้มรสถูกต้องโผฏฐัพพะ รู้ธรรมารมณ์ด้วยใจ
- โภชเน มัตตัญญุตา รู้จักประมาณในการกินอาหารแต่พอสมควร ไม่มาก ไม่น้อย
- ชาคริยานุโยค ประกอบความเพียรเพื่อจะชำระใจให้หมดจดไม่เห็นแก่นอนมากนัก
ธรรมที่บรรพชิตควรพิจารณาเนืองๆ ๑๐ อย่าง
(ธรรมที่ผู้ประพฤติพรหมจรรย์ควรพิจารณาเนื่องๆ ๑๐ อย่าง)- บรรพชิตควรพิจารณาเนืองๆ ว่า บัดนี้เรามีเพศต่างจากคฤหัสถ์แล้วอาการกิริยาใดๆ ของสมณะเราต้องทำอาการกิริยานั้นๆ
- บรรพชิตควรพิจารณาเนืองๆ ว่า ความเลี้ยงชีวิตของเราเนื่องด้วยผู้อื่นเราควรทำตัวให้เขาเลี้ยงง่าย
- บรรพชิตควรพิจารณาเนืองๆ ว่า อาการกาย วาจา อย่างอื่นที่เราจะต้องทำให้ดีขึ้นไปกว่านี้ยังมีอยู่อีก ไม่ใช่แต่เพียงเท่านี้
- บรรพชิตควรพิจารณาเนืองๆ ว่า ตัวของเราเอง ติเตียนตัวเราเองโดยศีลได้หรือไม่
- บรรพชิตควรพิจารณาเนืองๆ ว่า ผู้รู้ใคร่ครวญแล้ว ติเตียนเราได้โดยศีลหรือไม่
- บรรพชิตควรพิจารณาเนืองๆ ว่า เราจะต้องพลัดพรากจากของรักของชอบใจทั้งนั้น
- บรรพชิตควรพิจารณาเนืองๆ ว่า เรามีกรรมเป็นของๆ ตัว เราทำดีจักได้ดี ทำชั่วจักได้ชั่ว
- บรรพชิตควรพิจารณาเนืองๆ ว่า วันคืนล่วงไปๆ บัดนี้เราทำอะไรอยู่
- บรรพชิตควรพิจารณาเนืองๆ ว่า เรายินดีในที่สงัดหรือไม่
- บรรพชิตควรพิจารณาเนืองๆ ว่า คุณวิเศษของเรามีอยู่หรือไม่ ที่จะทำให้เราเป็นผู้ไม่เก้อเขินในเวลาเพื่อนบรรพชิตมาถาม ในภายหลัง
การบวช
ต้องมีใบสมัครขอบวชและใบรับรองให้บวช บวชโดยพระภิกษุเจ้าอาวาสหรือพระภิกษุที่เจ้าอาวาส มอบหมาย มีพระภิกษุ แม่ชี เป็นสักขีพยาน ตามความเหมาะสม พระผู้บวชให้ต้องออกใบรับรองการบวชให้ด้วยเมื่อบวชแล้วต้องเอาใจใส่ในการท่องสวดมนต์ ต้องเข้าประชุมทำวัตรเช้า เย็น วันธัมมัสสวนะต้องลงประชุมสมาทานศีล ๘ ทบทวนองค์สำหรับตัดสินกรรมบถ ๑๐ แสดงโทษและฟังโอวาทในวันพระใหญ่ ต้องเรียนธรรมศึกษาเป็นอันดับแรก เรียนบาลี อภิธรรม หรือวิชาอื่นที่เหมาะสมแก่ภาวะแม่ชี
หมายเหตุ
ควรศึกษาระเบียบปฏิบัติของสถาบันแม่ชีไทยเพิ่มเติม(ตัวอย่าง)
ใบรับรองผู้สมัครขอบวช
เขียนที่ _ _ _ _ _ _ _ _ _ _ _ _
วันที่_ _ _ เดือน _ _ _ _ _ พ.ศ.๒๕ _ _
ข้าพเจ้า _ _ _ _ _ _ _ _ _ นามสกุล _ _ _ _ _ _ _
อายุ _ _ _ อาชีพ _ _ _ _ _ _ _ _ ตำแหน่ง _ _ _ _ _ _ _ _
หลักฐาน _ _ _ _ _ _ _ _ _ _ _
บ้านเลขที่ _ _ _ _ หมู่ที่ _ _ _ _ _ ตำบล _ _ _ _ _ _ _ _ _
อำเภอ _ _ _ _ _ _ _ _ _ จังหวัด _ _ _ _ _ _ _
เกี่ยวข้องกับผู้จะบวชชีโดยเป็น _ _ _ _ _ _ _ _ _ _ _ _ จึงขอถวายคำรับรองไว้กับท่านเจ้าอาวาสหรือเจ้าสำนักดังต่อไปนี้
ก. นางหรือนางสาว _ _ _ _ _ _ _ _ _ _ _ _ _ _ _ _ _ _
- มีความประพฤติดี มีสุขภาพดี
- มีอาชีพเป็นหลักฐาน
- มิได้มีหนี้สินผูกพัน
- มิได้เป็นหญิงมีครรภ์หรือลุกอ่อน
- มิได้หลบหนีราชการหรือทางบ้านมา
- มิได้เป็นคนพิการ
- มิได้มีความผิดทางอาญาอย่างใด
- ไม่ติดสิ่งเสพติดทุกชนิด
- มิได้เป็นกระเทย มิได้เป็นโรคที่ต้องห้าม
- ได้รับอนุญาตจากมารดา บิดา สามี หรือผู้ปกครอง
ลงชื่อ _ _ _ _ _ _ _ _ _ _ _ _ _ _ _ _ _ ผู้รับรอง
ลงชื่อ _ _ _ _ _ _ _ _ _ _ _ _ _ _ _ _ _ พยาน
ลงชื่อ _ _ _ _ _ _ _ _ _ _ _ _ _ _ _ _ _ พยาน
ใบสมัครขอบวช
เขียนที่ _ _ _ _ _ _ _ _ _ _ _ _
วันที่ _ _ _ เดือน _ _ _ _ _ พ.ศ.๒๕ _ _
ข้าพเจ้า _ _ _ _ _ _ _ _ _ นามสกุล _ _ _ _ _ _ _
เกิดที่บ้าน _ _ _ _ _ ตำบล _ _ _ _ _ อำเภอ _ _ _ _ _ _
จังหวัด _ _ _ _ _ _ _
เมื่อวันที่ _ _ _ เดือน_ _ _ _ _ _ พ.ศ.๒๕_ _ _
ตรงกับวัน _ _ _ ฯ _ _ _ ปี _ _ _ นามมารดา _ _ _ _ นามบิดา _ _ _ _ สัณฐาน _ _ _ _
สีผิว _ _ _ ตำหนิ _ _ _ _ _ _ วิทยะฐานะ _ _ _ _ _ _ _ อาชีพ _ _ _ _ ปัจจุบันอายุ _ _ _ ปี
มีภูมิลำเนาอยู่บ้านเลขที่ _ _ _ หมู่ที่ _ _ _ ตำบล _ _ _ _
อำเภอ _ _ _ _ _ _ _ _ _ จังหวัด _ _ _ _ _ _ _
ข้าพเจ้ามีความศรัทธาเลื่อมใส ขอสมัครบวชเป็นชีในพระพุทธศาสนา จึงขอมอบตัวเป็นศิษย์ของท่านผู้ปกครองและคณะกรรมการสำนัก _ _ _ _ _ _ สังกัดอยู่ในสำนัก _ _ _ _ _ ซึ่งมี _ _ _ _ _ _ _ _ _ _ เป็นเจ้าสำนัก โดยขอปฏิญญา ดังต่อไปนี้:-
ข้อ ๑. ข้าพเจ้าขอปฏิญญาว่า ข้าพเจ้าเป็นผู้มีคุณลักษณะควรแก่การบวช คือ ข้าพเจ้าเป็นมนุษย์เพศหญิงมิได้มีครรภ์หรือลูกอ่อน, เป็นผู้มีความประพฤติดี, มีสุขภาพดี, ไม่เป็นหนี้ ไม่ติดสิ่งเสพติดทุกชนิด, ไม่ได้หลบหนีราชการหรือทางบ้านมา, ไม่มีคดีทางอาญา, ไม่เป็นโรคร้ายแรงหรือโรคติดต่อที่สังคมรังเกียจ, ไม่เป็นคนพิกลพิการหรือทุพพลภาพ, ได้รับอนุญาตจากมารดาบิดาสามีหรือผู้ปกครองแล้ว
ข้อ ๒. ข้าพเจ้าขอปฏิญญาว่า เมื่อได้บวชแล้ว จะเคารพนับถือเชื่อฟังตั้งอยู่ในโอวาทของพระอุปัชฌาย์ ครู อาจารย์ ตลอดจนท่านผู้ปกครองและคณะกรรมการ และจะประพฤติดีประพฤติชอบตามพระธรรมวินัย หรือระเบียบปฏิบัติของสำนักตลอดไป ถ้าข้าพเจ้าล่วงละเมิดข้อปฏิบัติดังกล่าวแล้วข้างต้น ข้าพเจ้าขอยอมรับโทษตามควรแก่ความผิดทุกประการ
ขอได้โปรดกรุณาให้ข้าพเจ้าได้บวชในพระพุทธศาสนาด้วย เทอญ.
ลงนาม_ _ _ _ _ _ _ _ _ _ _ _ _ _ _ _ผู้สมัครขอบวช
รูปแบบแม่ชี
โกนผม โกนคิ้ว เดือนละ ๑ ครั้ง ลบคิ้วถาวร ตัดเล็บ เครื่องนุ่งห่ม แบบเดียวกัน และสีขาว เสื้อชั้นในแขนเดียวอยู่ด้านซ้าย ไม่ใช้เสื้อยกทรง เสื้อนอกคอกลมชิดคอ แขน ๓ ส่วน ผ้านุ่ง ผ้าถุงธรรมดา ไม่ใช้ผ้าลูกไม้ติดเครื่องนุ่งห่ม ผ้าผลัดอาบน้ำใช้สีน้ำตาลอ่อน ไม่นำเครื่องแต่งตัวของฆราวาสมาแต่ง แม้จะเป็นการทดลองคำมอบตัว
ดิฉันขอมอบตัวเป็นศิษย์ของท่าน หากดิฉันมีความประพฤติไม่สมควรด้วยประการใดๆ ดิฉันปวารณาตัว ขอให้ท่านกรุณาตักเตือนว่ากล่าวสั่งสอนดิฉัน เมื่อดิฉันพิจารณาเห็นโทษแล้ว จักได้สำรวมระวังต่อไป หากท่านมีกิจธุระจำเป็นสิ่งไร โปรดเรียกใช้สอยได้ตามสมควรอธิบาย
คำมอบตัวนี้ ใช้สำหรับผู้ที่บวชใหม่ และผู้ที่มาอยู่ใหม่ หรือผู้น้อยให้นำเครื่องสักการะไปแสดงความเคารพท่านผู้เป็นหัวหน้า รองหัวหน้าและคณะกรรมการของสำนัก และแม่ชีที่เคารพนับถือ แล้วกล่าวคำมอบตัว.ข้อที่แม่ชีควรคิดคำนึง
- แม่ชีไม่ควรกราบ-ไหว้คฤหัสถ์ (เพราะอานุภาพแห่งศีลที่ปฏิบัติ) ควรจะรับไหว้ และอานวยพรตามสมควร
- แม่ชีไม่ควรนั่งร่วมวงอาหารกับผู้มิใช่แม่ชีด้วยกันแม้เนกขัมมนารี (ธรรมจารณี) ก็ต้องจัดต่างหาก
- แม่ชีไม่ควรอุ้มชูเด็กทั้งเล็กและโตไม่ว่าหญิงหรือชาย เพราะมิใช่วิสัยของผู้ทรงศีล
- แม่ชีไม่ควรจ่ายของที่เป็นประเภทอาหารในเวลาวิกาล เพราะมิใช่วิสัยของผู้ทรงศีลที่จะต้องกระทำ
- เวลานั่งรถ นั่งเรือ ควรจะพิจารณาให้มากๆ ไม่สมควรนั่งชิดกับเพศตรงข้าม ควรจะพิจารณาให้มากๆ ควรจะหลีกให้มากๆ และในกาลทุกเมื่อก็ควรจะหลีกเช่นนั้นเสมอๆ
อสชฺฌายมลา มนฺตา
มนต์มีการไม่ท่องบ่น เป็นมลทิน
จาก ขุททกนิกาย ธรรมบทคาถา
หัวใจพระพุทธศาสนา
สพฺพปาปสฺส อกรณํกุสลสฺสูปสมฺปทา
สจิตฺตปริโยธปนํ
เอตํ พุทฺธานสาสนํ
การไม่ทำบาปทั้งปวง หนึ่ง
การยังกุศลให้ถึงพร้อม หนึ่ง
การชำระจิตของตนให้ผ่องใส หนึ่ง
ทั้ง ๓ อย่างนี้เป็นคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าหลาย